จด อย. อาหารเสริม

บริการ จด อย. อาหารเสริม

บริการเสริม คอสมา เฮ้ลท์ จำกัด เรื่องการขอ จด อย. อาหารเสริมเพื่อสุขภาพและความงามทั้งในรูปแบบที่สั่งผลิตกับโรงงาน หรือ OEM นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อลดความยุ่งยาก ลดความผิดพลาด ตลอดจนประหยัดเวลาในการดำเนินการของคุณ

บริการของเรา

Cosma health มีทีมผู้เชี่ยวชาญ

เกี่ยวกับการจดทะเบียน อย.

กระบวนการขอจดทะเบียน อย.

หากสนใจนำเข้า หรือผลิตอาหารเสริม ติดต่อเรา Cosma Health 

ทำความรู้จัก FDA หรือ คณะกรรมการอาหารและยา

FDA (Food and Drug Administration)

FDA คือ หน่วยงานผู้อยู่เบื้องหลัง ตลอดจนมีหน้าที่สำคัญในการกำหนดเกณฑ์ตลอดจนตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ในแต่ละประเทศ และระดับสากล ซึ่งในประเทศไทยจะมีหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธาระสุข ที่ชื่อ คณะกรรมการอาหารและยา ที่คอยจัดการในเรื่องนี้ทั้งหมด

ทำไมอาหารเสริมต้องมี อย.

  • เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์และความปลอดภัยให้ผู้บริโภค อีกทั้งยังเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคอีกด้วย
  • เพื่อป้องกันผลเสียต่ผู้บริโภค ได้แก่ เพื่อคัดกรองสารสกัดหรือส่วนผสมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และป้องกันการกล่าวอ้างสรรพคุพคุณเกินจริงของผลิตภัณฑ์
  • การกำหนดมาตรฐานเบื้องต้น สำหรับลิตภัณฑ์ที่สามารถวางจำหน่ายได้ในประเทศนั้นๆ
  • เพื่อการตรวจสอบสินค้าที่สามารถนำเข้า และส่งออก ได้อย่างรวดเร็ว

มาดูกันว่า เลขสารระบบอาหาร (อย.) บนฉลาก จำนวน 13 หลัก บอกอะไรคุณได้บ้าง?

ตรวจเลขจดทะเบียน อย. ผลิตภัณฑ์

” เลขสารระบบอาหาร หรือ หมายเลขจดทะเบียน อย. ที่เรารู้จักกัน คือ เครื่องหมาย / รูปแบบแสดงการได้รับอนุญาติประกอบด้วยตัวเลข 13 หลัก ที่แสดงข้อมูลที่ผลิต/นำเข้า, หน่วยงานที่อนุญาติ และลำดับที่ของอาหาร ของสถานประกอบการนั้นๆ โดยต้องแสดงไว้ที่ฉลาก ” 

คุณสามารถเข้าไปตรวจสอบหมายเลขจดทะเบียน อย. ของผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยว่าเป็นแบรนด์ที่จำหน่ายอย่างถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่

ซึ่งในกรณีของอาหารเสริมสิ่งที่ใช้ค้นหาได้ตรงที่สุดคือ เลขใบสำคัญ (เลข อย. บนฉลาก) เช่น 10-3-XXXXX-X-XXXX หรือ ชื่อแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ได้ที่ ระบบการสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

เคยสงสัยหรือไม่ว่า “ตัวเลข อย. บนฉลาก” บอกอะไรบ้าง ?

เริ่มอธิบายความหมายของตัวเลขตามลำดับจากซ้ายไปขวา

  1. ตัวเลข 10 คือ เลขที่ตั้งจังหวัดของสถานที่ผลิต
  2. ตัวเลข 3 คือ สถานะของหน่วยงานที่อนุญาต
  3. ตัวเลข 078 คือ เลขประจำสถานที่ผลิต
  4. ตัวเลข 57 คือ เลขท้าย พศ. ที่อนุญาต
  5. ตัวเลข 1 คือ เลขที่ของหน่ายงานที่อนุญาต
  6. ตัวเลข 0014 คือ เลขลำดับของผลิตภณฑ์ที่ผ่านการอนุญาต

การขอ อย. ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ต้องเตรียมอะไรบ้าง

การจดทะเบียน สถานที่ผลิต / ผู้ประกอบการ (เราดำเนินการให้)

  • หนังสือคำขอจดทะเบียน
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ทะเบียนพานิชย์นิติบุคคล
  • สำเนา ภพ.20
  • สถานที่/โรงงาน ที่ผลิตที่ต้องผ่านมาตรฐานการผลิต

การจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ด้วยชื่อผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องการ

  • ต้องแจ้งสูตร และส่วนผสมสำคัญ ของอาหารเสริม
    (ในกรณีพิเศษ ส่วนผสมบางชนิดอาจต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องยื่นตรวจสอบเข้าแล็บวิจัย เพื่อดำเนินการแจ้งขอ อย.ต่อไป ซึ่งจะมีขั้นตอน กระบวนขอการเอกสารที่เพิ่มขึ้น และอาจต้องใช้เวลานานขึ้น หากเตรียมมาไม่พร้อม)
  • แจ้งชื่อแบรนด์อาหารเสริมที่คุณต้องกา
    สัก 3-5 ชื่อ (ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)

สิ่งที่ห้ามพลาดบนฉลาก หากต้องการให้การขอจด อย. รอบเดียวผ่าน

ข้อคำนึง เรื่องการใส่ข้อมูล ข้อความบนฉลาก ที่ควรปฏิบัติตาม

  1. ข้อมูลต้องไม่เป็นเท็จ หรือหลอกลวงผู้บริโภค ให้เกิดความหลงเชื่อ
  2. ไม่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ
  3. ฉลากที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค ต้องแสดงข้อความเป็น ภาษาไทย (ภาษาแม่ของประเทศนั้นๆ) และอาจมีภาษาต่างประเทศเป็นภาษาอื่นได้

หากเตรียมข้อมูลเหล่านี้พร้อม การขอจดทะเบียนสารบบอาหารจะไม่ใช่เรื่องย่งยากอย่างที่คุณคิด 

มาตรฐาน ข้อกำหนด ข้อความที่ปรากฏ บนฉลาก (อย่างน้อย)

ตามประกาศ (ฉบับที่ 194) พศ.2543 และ (ฉบับที่ 252) พ.ศ.2545

  • ชื่ออาหาร
  • ปริมาณสุทธิ
  • วันผลิต / หมดอายุ / ควรบริโภคก่อน
  • ชื่อ-ที่ตั้งสถานที่ผลิต / นำเข้า
  • สูตรส่วนประกอบ
  • เลขสารระบบอาหาร (เลขจดทะเบียน อย.)

ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการใส่ข้อมูลเพิ่มเติมลงบนฉลาก

  • คำแนะนำการเก็บรักษา
  • คำเตือน
  • วิธีรับประทาน
  • ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล
  • ใช้วัตถุกันเสีย (ถ้ามี)
  • แต่งกลิ่นรส (ถ้ามี)
  • เจือสี (ถ้ามี)
  • ใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร (ถ้ามี)

สรุป

หากสั่งผลิตอาหารเสริมกับเราเพียงแจ้ง “ชื่อแบรนด์” ที่คุณต้องการเหลือ Cosma Health จัดการให้ เรามีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล และดำเนินการขอจดทะเบียน อย. ผลิตภัณฑ์ จนสินค้าพร้อมจำหน่าย โดยที่ระยะเวลาดำเนินการโดยประมาณอยู่ที่ 1-3 เดือน (อาจเร็วกว่านั้น) อยู่ที่ขั้นตอนการตรวจสอบและดำเนินการขอเอกสารกับคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)