เมื่อเริ่มเป็นสิวการทาสกินแคร์อาจไม่พอ หลายคนจึงนิยมใช้อาหารเสริมบำรุงผิวเข้ามาเสริมอีกแรง ซึ่งหนึ่งในสารอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างมากคนหนีไม่พ้น “Zinc รักษาสิว” แต่การที่จะนำอาหารอะไรเข้าไปสู่ร่างกาย คนไม่ดีแน่หากคุณยังไม่ได้รู้จักสารอาหารชนิดนั้นดีพอ
วันนี้ Cosma Health จึงขออาสาพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Zinc (ซิงค์) ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมคำแนะนำในการทานซิงค์ ตลอดจนข้อควรระวังและวิธีเลือกซื้ออาหารเสริม
เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ คลิกเลย…
- Zinc คืออะไร ?
- ทำไมต้อง Zinc ?
- ประโยชน์ของการทาน Zinc
- ปริมาณซิงค์ที่ควรได้รับต่อวัน
- 5 สัญญาณเมื่อทานซิงค์มากเกิน
- ทำไม Zinc อย่างเดียวถึงไม่พอ ?
- ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม Zinc ที่แนะนำ
Zinc คืออะไร? อันตรายไหม
Zinc คือแร่ธาตุสังกะสีในกลุ่ม Trace Minerals หรือแร่ธาตุรองที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับในปริมาณ 15 mg – 100 mg ต่อวัน ซึ่งจัดเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้ แม้ว่าร่างกายจะไม่ได้ต้องการ Zinc ในปริมาณที่มากเท่าแร่ธาตุหลัก แต่ก็ใช้ว่าแร่ธาตุซิงค์จะไม่มีความสำคัญนะคะ เพราะใน Zinc นั้นมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย อาทิ การเจริญเติบโตของโครงสร้างร่างกาย กระดูกและฟัน รวมทั้งในเรื่องของฮอร์โมนเพศ
การรับประทานอาหารที่มี Zinc เช่น หอยนางรม ตับ จมูกข้าวสาลี เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา ถั่วลิสง เห็ด เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ช็อกโกแลตหรือโกโก้ และไข่แดง ในปริมาณที่พอเหมาะไม่ถือว่าเป็นอันตรายใด ๆ ต่อร่างกายค่ะ แต่หากทานมากไปก็อาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้เช่นกัน
“Zince ถือเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นและร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้
การเติม Zinc ให้ร่างกายจึงถืออีก 1 งานของคุณ”
Zinc ประโยชน์ที่มีต่อร่างกาย
สังกะสี (Zinc) เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายและมีบทบาทสำคัญสำหรับต่อสุขภาพผิวหนัง การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการเจริญเติบโตของเซลล์ และยังสามารถช่วยป้องกันสิวและการอักเสบของร่างกายได้
ประโยชน์ของสังกะสีต่อร่างกาย มีดังนี้
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน Zinc จำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันและการส่งสัญญาณของเซลล์ การขาดสังกะสีจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ งานวิจัยบางฉบับชี้ให้เห็นว่าการเสริมสังกะสีช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้อย่างมาก และส่งเสริมการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุอีกด้วย
- ช่วยสมานแผล Zinc จำเป็นสำหรับการสร้างโปรตีนที่สำคัญในการสมานแผล เมื่อร่างกายขาดสังกะสีอาจทำให้แผลหายช้าและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของแผล
- บำรุงผิว ป้องกันปัญหาสิว ซิงค์มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยทำให้ผิวแข็งแรงและยืดหยุ่น การขาด Zinc อาจทำให้ผิวแห้ง ลอกเป็นขุย และเกิดสิวได้ง่ายขึ้น
- ควบคุมฮอร์โมน สังกะสีมีส่วนช่วยในการผลิตและควบคุมฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต และฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญ ในกลุ่มคุณผู้ชายจึงมักนิยมทาน Zinc เพื่อเสริมสมรรถภาพทางเพศ รวมทั้งยังเพิ่มโอกาสในการมีบุตรได้
- บำรุงสมอง Zinc มีประโยชน์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาและการทำงานของสมอง การขาดสังกะสีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์และโรคพาร์กินสัน
“Zinc รักษาสิวได้จากภายในสู่ภายนอก!
พร้อมเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง”
ซิงค์ (Zinc) กินตอนไหนดีที่สุด
ซิงค์ (Zinc) ควรกินตอนท้องว่าง จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมซิงค์ได้ดีที่สุด โดยสามารถรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2-3 ชั่วโมงก็ได้ แต่ถ้ารับประทานตอนท้องว่างแล้วรู้สึกไม่สบายท้อง อาจทานพร้อมกับอาหารก็ได้
อย่างไรก็ตามผลที่เกิดจากการรับประทานซิงค์ เป็นผลในระยะยาว การรับประทานตอนไหนอาจจะไม่มีผลกระทบต่อผลในระยะยาวมากนัก แต่ควรมองผลระยะสั้น เช่น ในเรื่องการดูดซึมจากทางเดินอาหาร และ อาการระคายเคืองกระเพาะอาหารไว้ก่อน เพื่อให้สามารถรับประทานซิงค์ได้โดยไม่เกิดปัญหา
นอกจากนี้ การรับประทานซิงค์ร่วมกับแคลเซียมและเหล็ก อาจรบกวนการดูดซึมซิงค์ได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานซิงค์ร่วมกับแคลเซียมและเหล็ก
หากต้องการรับประทานซิงค์เพื่อรักษาสิว ควรรับประทานซิงค์วันละ 30-50 มิลลิกรัม เป็นเวลา 6-12 สัปดาห์ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานซิงค์ เนื่องจากซิงค์อาจส่งผลต่อการทำงานของยาบางชนิด
ปริมาณที่ควรได้รับ Zinc ต่อวัน
ช่วงอายุ | ปริมาณมิลลิกรัมต่อวัน (mg./day) |
อายุน้อยกว่า 1 ปี | 3 – 5 |
อายุ 1 –10 ปี | 10 |
อายุ 11 ปีขึ้นไป | 15 |
สตรีในระยะตั้งครรภ์ | 20 – 25 |
สตรีในระยะให้นมบุตร | 25 – 30 |
หมายเหตุ: ปริมาณ Zinc ที่ควรได้รับต่อวัน ไม่ควรเกิน 15 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากการได้รับ Zinc มากเกินไปอาจส่งผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงจาก Zinc ที่ต้องระวัง
ผลข้างเคียงจาก Zinc ที่ต้องระวัง ส่วนใหญ่จะเกิดจากการได้รับ Zinc มากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้
- ระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร
- ระบบประสาท อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ
- ระบบเลือด อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดทองแดง
- ระบบภูมิคุ้มกัน อาจทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
- ระบบสืบพันธุ์ อาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
มากเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน :
ส่งผลต่อระดับคลอเรสเตอรอลที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด
มากเกินกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน :
เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ เกร็งบริเวณกล้ามเนื้อท้อง และเกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร
มากเกินกว่า 1.5 เท่าของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน :
หากเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานานสังกะสีจะเข้าไปลดการดูดซึมทองแดงและธาตุเหล็ก ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง
นอกจากนี้ Zinc อาจส่งผลต่อการทำงานของยาบางชนิด เช่น
- ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น erythromycin อาจทำให้การดูดซึม Zinc ลดลง
- ยาลดความดันโลหิตบางชนิด เช่น captopril อาจทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง
- ยาลดกรดบางชนิด เช่น cimetidine อาจทำให้การดูดซึม Zinc ลดลง
5 สัญญาณอันตรายเมื่อทาน “ซิงค์” มากเกินไป
ซิงค์ (Zinc) เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ 5 สัญญาณอันตรายเมื่อทาน “ซิงค์” มากเกินไป โดยอาการของผู้ที่รับประทานมากเกินข้อจำกัดต่อวันที่พบบ่อย มีดังนี้
- ท้องเสีย : ซิงค์สามารถระคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ หากได้รับมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
- คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง : อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นพร้อมกับอาการท้องเสีย หรืออาจเกิดขึ้นแยกกันได้
- เบื่ออาหาร : ซิงค์อาจทำให้ร่างกายรู้สึกไม่หิวอาหารได้
- ปวดศีรษะ : ซิงค์อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
- อ่อนเพลียและป่วยง่ายขึ้น : ซิงค์อาจทำให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้าได้ รวมทั้งยังส่งผลให้รู้สึกไม่สบายตัวมากกว่าปกติ
เลือกอาหารเสริมที่มี Zinc ยังไงให้ได้ประโยชน์รอบด้าน
การเลือกอาหารเสริมที่มี Zinc ให้ได้ประโยชน์รอบด้าน เริ่มต้นจากการเลือกให้เป็นและกินให้เหมาะสมกับปัญหา โดยคุณควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- ปริมาณของซิงค์
ควรเลือกอาหารเสริมที่มีปริมาณซิงค์เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละวัน โดยทั่วไปผู้ใหญ่ควรได้รับซิงค์ประมาณ 11 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากต้องการรับประทานเพื่อรักษาสิวหรือโรคอื่นๆ อาจต้องรับประทานซิงค์ในปริมาณที่สูงขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
- รูปแบบของซิงค์
ซิงค์มีรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น Zinc Oxide, Zinc Gluconate, Zinc Picolinate, Zinc Citrate เป็นต้น แต่ละรูปแบบมีความสามารถในการดูดซึมแตกต่างกันไป โดยทั่วไป Zinc Picolinate และ Zinc Gluconate ดูดซึมได้ดีกว่า Zinc Oxide
- ดูสารอาหารอื่น ๆ ร่วมด้วย
อาหารเสริมบางชนิดอาจรวมสารอาหารอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น วิตามินซี วิตามินอี แมกนีเซียม เป็นต้น การเลือกอาหารเสริมที่มีสารอาหารอื่นๆ ร่วมด้วยอาจช่วยให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ ครบถ้วนมากขึ้น
- ความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต
ควรเลือกอาหารเสริมจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ ตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ให้ละเอียดว่ามีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องหรือไม่
- อ่านคำแนะนำในการรับประทาน
ควรอ่านคำแนะนำอย่างละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ควรรับประทานเกินปริมาณที่แนะนำ เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้
สรุป
Zinc รักษาสิว ถือเป็นอีกสารอาหารชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมทั้งในแง่ของผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ก่อนที่เลือกทาน Zine ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นที่ก่อน เพื่อให้คุณได้เลือกทานอย่างเหมาะสมกับปัญหาของตนเองมากที่สุด และในส่วนของผู้ที่ต้องผลิตอาหารเสริมที่มี Zinc สามารถปรึกษาทาง Cosma Health เพิ่มเติมได้ที่ช่องทางด้านล่างเลยค่ะ
Pingback: 15 สารอาหารเสริมบำรุงผิวยอดนิยม! อยากรันวงการอาหารเสริม ต้องรู้!
Pingback: ภูมิต้านทานต่ำ กินอะไรดี? ช่วยเสริมภูมิ ไม่ป่วยง่าย