5 ขั้นตอนการผลิตอาหารเสริม ให้ประสบความสำเร็จ ไม่ยาก!

5 ขั้นตอนผลิตอาหารเสริม

“การทำแบรนด์อาหารเสริม” เป็นธุรกิจหนึ่งที่ยังคงได้รับความน่าสนใจมาอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเทรนด์ของผู้บริโภคที่หันมาสนใจและใส่ใจกับสุขภาพร่างกายและความสวยงามเพิ่มมากขึ้น การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จึงยังคงเติบโตขึ้นอย่างเรื่อย ๆ เชิญชวนให้ผู้ลงทุน นักธุรกิจ หรือคนที่มี Passion ในด้านนี้ ได้ก้าวเข้ามาเริ่มปั้นแบรนด์และมองหาขั้นตอนการผลิตอาหารเสริมกันมากขึ้น

ผลวิจัยชี้! ผู้บริโภคหันมาสนใจการเสริมภูมิคุ้มกันหรือป้องกันโรคมากขึ้น !

จากข้อมูลวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในบทความแนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2566-2568 จากทาง Krungsri Research ได้กล่าวถึงการคาดการณ์แนวโน้มของธุรกิจในกลุ่มยาแผนปัจจุบันไว้ว่า ​มูลค่าจำหน่ายยาในประเทศคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 5.0-6.0% ต่อปี มาจากปัจจัย …

    1. โรคไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคติดต่ออุบัติใหม่ สร้างการเจ็บป่วยได้มากขึ้น
    2. ประชาชนเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ยากขึ้น
    3. ผู้ป่วยต่างชาติกลับมาใช้บริการภายในประเทศไทยมากขึ้น (ในจำนวนที่ใกล้เคียงก่อนยุค Covid-19)
    4. ผู้บริโภคหันมาใส่ใจ “การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน” หรือก็คือ การเสริมภูมิคุ้มกันหรือป้องกันโรคให้กับร่างกาย แม้จะยังไม่มีอาการก็ตาม
    5. Online Platform ต่าง ๆ ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงการซื้อยาเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ได้สะดวกขึ้น

สารบัญ เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจก่อน

สำหรับใครที่กำลังคิดอยากจะสร้างแบรนด์อาหารเสริม แนะนำเลยว่า ต้องอ่านบทความนี้! Cosma Health พร้อมพาคุณผู้อ่านทุกท่าน ไปดูขั้นตอนการผลิตอาหารเสริม แบบ Step by Step กัน รับรองเลยว่า ถ้าทำตาม Checklist นี้ ธุรกิจปังชัวร์!!

เลือกกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience)

1. เลือกกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience)

เชื่อเลยว่า ทุกคนคงไม่อยากให้สินค้าของตัวเองถูกตั้งโชว์บนชั้นวาง หรือนอนนิ่งในสต็อกจนถูกฝุ่นเกาะใช่ไหมล่ะครับ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะผลิตอาหารมเสริมหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ สิ่งแรกที่เราต้องนึกถึงเลยนั่นก็คือ “เราทำสินค้านี้ เพื่อใคร?” “ใครคือกลุ่มเป้าหมายหลักหรือรองของเรา?” “เราช่วยแก้ไขอะไรให้กับเขา?” จะช่วยให้เราสามารถวางแผนทำการตลาด, การขาย ไปจนถึงแผนงานอื่น ๆ ได้อย่างมีทิศทาง

ถ้าใครที่ยังนึกภาพไม่ออก เราแนะนำให้รู้จักกับการทำ STP หรือก็คือ เครื่องมือช่วยวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

S = Segmentation

คือ การแบ่งส่วนการตลาด หรือคือการแบ่งกลุ่มลูกค้าออกตามข้อมูลต่าง ๆ อย่างเช่น

  • แบ่งตามพฤติกรรมการซื้อ (Behavioral) เช่น ช่องทางการซื้อ, ยอดสินค้าที่ซื้อ, ช่วงเวลาในการซื้อ, การตัดสินใจซื้อว่าเป็นผู้ตัดสินใจหลักหรือไม่ เป็นต้น
  • แบ่งตามสถานที่อยู่อาศัยของลูกค้า (Geographic) เช่น แบ่งตามประเทศ, ภูมิภาค, จังหวัด หรือเขต
  • แบ่งตามกลุ่มประชากร (Demographic) เช่น เพศ, อายุ, อาชีพ, รายได้, สภาพภาพการสมรส หรือศาสนา เป็นต้น
  • แบ่งตามข้อมูลด้านจิตวิทยา (Psychographics) อย่างเช่น ความต้องการในชีวิต (เช่น อยากดูดีขึ้น, อยากสุขภาพแข็งแรงขึ้น, อยากรวยขึ้น), ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต (เช่น การแต่งตัว, สถานที่ที่ชอบท่องเที่ยว)

T = Targeting

คือ การเลือกกลุ่มตลาดเป้าหมาย ว่าเราจะจับกลุ่มตลาดไหน (จากที่ได้แบ่งในขั้นตอนแรก Segmentation)
โดยมีปัจจัยที่น่านำมาพิจารณาด้วยกัน ดังนี้

  • ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย (Size) รวมถึงความสามารถในการเติบโตของตลาดกลุ่มนี้
  • มูลค่าของตลาด (Profitability) กำลังในการจ่ายเงินของลูกค้า
  • การเข้าถึงลูกค้า (Reachability) ว่ามีความยากง่ายขนาดไหน

หรือ อาจจะลองเลือกกลุ่มตลาดตามนี้ก็ได้เช่นกัน

  • กลุ่มตลาดที่เป็นที่ต้องการของคนจำนวนมาก (Mass Market)
  • การเลือกลุ่มตลาดเป้าหมายเจาะจงเพียงแค่บางกลุ่ม (Segment Market)
  • เลือกตลาดกลุ่มเล็ก ที่มีความต้องการเหมือนกันในเฉพาะกลุ่ม (Niche Market)

P = Positioning

คือ การวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ในตลาด สามารถแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่

  • ด้านอารมณ์ (Emotional) เช่น สินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury Goods)
  • ด้านการใช้งาน (Functional) เช่น คุณภาพสูง-คุณภาพต่ำ, ราคาสูง-ราคาต่ำ
  • ด้านความแตกต่าง (Differentiation)

มาลองดูตัวอย่างของการวาง Positioning กันตามภาพนี้ได้เลยครับ

การวาง Positioning ในขั้นตอนการผลิตอาหารเสริม

ตัวอย่าง การวาง Positioning ของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่แกน X (แนวนอน) แบ่งตามช่วงอายุ (ทางซ้ายสำหรับกลุ่มเด็ก และทางขวาสำหรับกลุ่มผู้ใหญ่) และแกน Y (แนวตั้ง) แบ่งตามราคา (ด้านบนราคาสูง ด้านล่างราคาต่ำ)

เห็นแบบนี้แล้ว … คุณผู้อ่านอาจกำลังคิดตามอยู่ใช่ไหมล่ะครับว่า … อาหารเสริมของเรา จะอยู่ในตำแหน่งไหนดี? … ในระหว่างนี้ คิดแล้วลองไปดูขั้นตอนต่อไปกันต่อได้เลยครับ

ศึกษาคู่แข่ง (competitor analysis)

2. ศึกษาคู่แข่งในตลาด (Competitor Analysis)

หลังจากที่เรารู้แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร สิ่งต่อไปที่เจ้าของธุรกิจควรต้องทำนั่นก็คือ “การสำรวจคู่แข่งที่มีในตลาด” ทั้งที่เป็นคู่แข่งทางตรง และคู่แข่งทางอ้อม เพื่อที่เราจะได้ทราบข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • ผลิตภัณฑ์นี้เป็นอย่างไรบ้าง? ในสถานการณ์ตลาด ณ ปัจจุบัน
  • ใครคือ Top of mind ที่อยู่ในใจผู้บริโภค?
  • จุดเด่นของคู่แข่งแต่ละเจ้า คืออะไร?
  • ราคาขายของแต่ละเจ้า

เพราะหากเราได้ข้อมูลเหล่านี้มาแล้ว เราจะได้สามารถนำมาวิเคราะห์การทำกลยุทธ์ของแบรนด์เราเองได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น และยังสามารถช่วยให้เรามองเห็นช่องว่างในตลาด เพื่อหาโอกาสในการสร้าง Unique Selling Point หรือจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร ให้กับแบรนด์ของเราเองได้ เป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้เรากำหนดทิศทางได้แม่นยำมากขึ้นเลยทีเดียว

ออกแบบอาหารเสริม (BUILD YOUR PRODUCT)

3. ออกแบบอาหารเสริม (Build Your Product)

เป็นขั้นตอนที่กลับมาโฟกัสที่ตัวสินค้าเป็นหลัก โดยเริ่มจาก

3.1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการผลิต

เราได้ผ่านข้อ 1 และข้อ 2 กันมาเรียบร้อยแล้ว ถึงคราวที่เราต้องตัดสินใจแล้วว่า “เราจะผลิตอาหารเสริมอะไรไปขาย?” รวมถึงจะผลิตในรูปแบบไหน? ตัวอย่างเช่น ต้องการผลิตอาหารเสริมนอนหลับ … จะผลิตในรูปแบบไหน? แบบแคปซูล / แบบอัดเม็ด / แบบน้ำชง / แบบเยลลี่

3.2. เลือกวิธีการผลิตอาหารเสริม

หรือก็คือ การเลือกว่าจะผลิตอาหารเสริมแบบไหน … จะลงทุนผลิตเอง? หรือมองหาโรงงานรับผลิตอาหารเสริมมาช่วยผลิตให้? ซึ่งแต่ละทาง ก็มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน เราได้ลองเปรียบเทียบให้ดูแล้วบางส่วน ตามตารางนี้เลยครับ

เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย ของการลงทุนผลิตเอง และการหาโรงงานผลิตอาหารเสริมช่วยดูแลให้

ลงทุนผลิตเอง (สร้างโรงงานเอง)

ข้อดี

  • อิสระในการควบคุมกระบวนการผลิตได้ด้วยตัวเองในทุกขั้นตอน
  • สามารถปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ได้ตามต้องการ

ข้อเสีย

  • ต้องใช้เงินลลงทุนที่สูงมาก
  • ต้องศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น
    • การสร้างโรงงาน
    • มาตรฐานต่าง ๆ ของโรงงาน
    • หาแหล่งที่มาของวัตถุดิบ
    • ต้องหาผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาสูตรอาหารเสริม และอีกมากมายที่จะต้องดำเนินการด้วยตัวเอง

หาโรงงานผลิตอาหารเสริมช่วยดูแลให้

ข้อดี

  • มีทีมที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์คอยดูแลการผลิตให้
  • เจ้าของกิจการสามารถมีเวลาดูแลงานในส่วนอื่นได้มากขึ้น เช่น งานการตลาด, งานขาย, งานจัดการสต็อกสินค้า เป็นต้น
  • ไม่ต้องเสียเงินลงทุนจำนวนมากในคราวเดียว

ข้อเสีย

  • หากเป็นการใช้สูตรอาหารเสริมที่เป็นมาตร
    ฐานของโรงงาน อาจไม่ได้มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นในท้องตลาด (แต่ก็สามารถพัฒนาสูตรให้แตกต่างไปได้)
  • ต้องเลือกโรงงานที่ดี มีมาตรฐาน และที่สำคัญ ต้องมีความจริงใจ เพราะเจ้าของธุรกิจและโรงงาน จะต้องกลายเป็นพาร์ทเนอร์กันในระยะยาว

3.3.  พัฒนาสูตรอาหารเสริม (Development of Supplementary)

คือ การคิดค้นออกแบบส่วนผสมของอาหารเสริม โดยการคัดสรรและเลือกวัตถุดิบสำหรับอาหารเสริมสูตรนั้น ๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ผลจริง ภายใต้ความปลอดภัยของผู้บริโภค

ท่านที่กำลังอ่านถึงขั้นตอนนี้ อาจเริ่มรู้สึกว่า “ยากจัง” และอาจวิตกกับเส้นทางการเป็นเจ้าของธุรกิจแล้ว … แต่อย่าเพิ่งท้อใจไปครับ! เพราะหากใครที่ไม่ได้มีความรู้หรือประสบการณ์ ก็สามารถให้ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาสูตรอาหารเสริม เป็นผู้ช่วยพัฒนาให้คุณได้

สำหรับสูตรของอาหารเสริมนั้น จะมีทั้งสูตรที่เป็นมาตรฐานของทางโรงงานรับผลิตอาหารเสริมอยู่แล้ว หรือหากเรายังไม่พอใจในสูตรมาตรฐานที่มี ก็สามารถให้ทางโรงงานช่วยพัฒนาสูตรอาหารเสริมขึ้นมาใหม่ได้เช่นกัน

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาสูตร และผลิตอาหารเสริม ฟรี

ออกแบบอาหารเสริม (Build Your Product)

4. สร้างแบรนด์ (Brand Building)

ขั้นตอนนี้ ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ ท่านเลยล่ะครับ เพราะหากสินค้าดี แต่ไม่ถึงมือผู้บริโภค ก็ไม่มีใครได้รับรู้ว่าสินค้านั้นดียังไง เพราะฉพนั้น การทำการตลาดที่ดี เป็นเรื่องที่สำคัญมากเลยทีเดียว! และ “การสร้างแบรนด์อาหารเสริม” นั้น ก็เป็นส่วนสำคัญใหญ่ ที่ส่งผลต่อการทำการตลาดในภาพรวม

แต่การสร้างแบรนด์ ในแง่ของการผลิตอาหารเสริมบนบทความนี้นั้น เราจะพาไปโฟกัสในด้านการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ได้แก่

4.1. การตั้งชื่อแบรนด์และผลิตภัณฑ์

            สำหรับการตั้งชื่อแบรนด์ นอกจากจะต้องคิดเผื่อให้ผู้บริโภคเกิดการจดจำแล้ว ยังต้องคำนึงถึงหลักการที่ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น ต้องไม่สื่อถึงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น คำพ้องเสียง, คำที่ลดทอนเสียง ทั้งในภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ (สามารถอ่านประกาศจากทาง อย. ได้ที่นี่)

4.2. รูปแบบบรรจุภัณฑ์

มาถึงการเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ของเรากันแล้ว ว่าอยากจะใช้ขนาดไหน? รูปแบบไหน? บรรจุปริมาณเท่าไหร่? ซึ่งในขั้นตอนการวิเคราะห์คู่แข่ง เราน่าจะได้เห็นสินค้าที่อยู่ในตลาดเดียวกันกับเราแล้ว เชื่อว่า ท่านผู้อ่านน่าจะได้ไอเดียไปพอสมควรแล้วใช่มั้ยล่ะครับ

แต่ถ้าหากใครยังคิดไม่ตก ลองถามทางโรงงานผู้ผลิตได้เลยนะครับ เพราะทางโรงงานผลิตอาหารเสริมเองก็มีประสบการณ์ที่หลากหลาย สามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมได้อย่างแน่นอน

4.3. ออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์

นอกจากฉลากจะต้องมีการแสดงชื่อผลิตภัณฑ์และชื่อแบรนด์แล้ว ยังต้องมีการแสดงข้อมูลตามที่ทาง อย. ได้กำหนดไว้ด้วย ได้แก่

  • ต้องมีคำว่า “ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม” กำกับชื่ออาหารด้วย
  • เลขสารบบอาหาร
  • ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า
  • ปริมาณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บรรจุ
  • ชื่อและปริมาณของส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • ข้อความสำคัญที่ต้องเพิ่มเติม หากมีการใช้สารต่าง ๆ เหล่านี้
    • “ใช้วัตถุกันเสีย”
    • “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์”
    • “แต่งกลิ่น”
    • “ควรกินอาหารหลากหลาย ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ”
  • ข้อความเตือน “ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค” (บังคับ)
  • คำแนะนำในการใช้
  • คำแนะนำในการเก็บรักษา
  • วันหมดอายุ
    • ผลิตภัณฑ์มีอายุไม่เกิน 90 วัน : ต้องมีการแสดง วัน / เดือน / ปี ที่หมดอายุ หรือที่ควรบริโภคก่อน
    • ผลิตภัณฑ์มีอายุเกิน 90 วัน : ต้องมีการแสดง : เดือน / ปี ที่ผลิต และ เดือน / ปี ที่หมดอายุหรือควรบริโภคก่อน
  • คำเตือน การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสำคัญบางชนิดเป็นส่วนประกอบ

(สามารถอ่านข้อบังคับตามประกาศเพิ่มเติม ได้ที่ sciencepark.or.th)

4.4. ยื่นจดทะเบียนกับทาง อย.

มาถึงขั้นตอนเกือบสุดท้าย นั่นคือการนำผลิตภัณฑ์อาหารเสริมยื่นจดทะเบียนกับทาง อย. เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของเรา สามารถจัดจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยขั้นตอนนี้ ส่วนมากทางโรงงานผู้ผลิตจะมีบริการช่วยดำเนินการจดทะเบียน อย. ให้ด้วย สามารถลองสอบถามดูได้ครับ

การวางแผนการตลาด (Marketing Strategy)

5. การวางแผนการตลาด (Marketing Strategy)

หลังจากมีผลิตภัณฑ์แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ “การนำเข้าสู่ตลาด” เพราะฉะนั้น เราจึงต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ที่ดี เพื่อที่องค์กรจะได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับกลยุทธ์ที่จะมาแนะนำในส่วนนี้ นั่นก็คือ การมาดูส่วนผสมทางการตลาด 7Ps (หรือเดิม 4Ps) ของเรา นั่นเองครับ

เดิม 4Ps เราจะเคยได้ยินกันใน P เหล่านี้

1. Product : ผลิตภัณฑ์

นอกจากการที่เราต้องรู้ก่อนว่า ผลิตภัณฑ์ของเราคืออะไร? นั่นก็คือการที่เราควรรู้ข้อมูลต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ของเราให้ดีขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็น คุณภาพ, วิธีการใช้งาน, คำแนะนำในการใช้, บริการเสริมมีไหม? เหล่านี้เป็นต้น เพื่อที่จะได้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ออกมาดูน่าสนใจ

2. Price : ราคา

การตั้งราคา ก็ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่ง ซึ่งมีอีกหลายแง่มุมให้ต้องตัดสินใจ อาทิ

    • จะวางราคาสูงหรือต่ำกว่าตลาด หรือเท่า ๆ กับสินค้าที่มีในตลาด
    • กลยุทธ์เลขราคา เช่น ลงท้ายด้วย 90, 99 หรือ ลงท้ายด้วย 00 ซึ่งมีผลทางด้านจิตวิทยา
    • วิธีการชำระเงิน จะรับแบบใดบ้าง เช่น เงินสด, เงินโอน, บัตรเครดิต หรือ การผ่อนชำระ
    • การจัดแคมเปญส่วนลดพิเศษ เช่น ต้อนรับเปิดตัวสินค้าใหม่, ช่วงเทศกาล

3. Place : ช่องทางการจัดจำหน่าย

ในปัจจุบันที่โลกออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น พฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนไป ทำให้การซื้อ-ขายสินค้า มีช่องทางที่เยอะขึ้นตาม ไม่ว่าจะเป็น การซื้อผ่าน Offline อย่างการซื้อที่หน้าร้าน หรือการซื้อผ่าน Online ที่มีทั้ง ซื้อผ่านบนเว็บไซต์ของธุรกิจเอง หรือซื้อผ่าน Marketplace, การซื้อผ่าน Chat Commerce บนช่องทางการแชท อย่าง Facebook LINE เป็นต้น ฉะนั้น ธุรกิจต้องวางแผนและตัดสินใจก่อนว่าจะเปิดให้สินค้าจัดจำหน่ายในช่องทางไหนได้บ้าง เพื่อที่จะได้ทำการตลาดได้ถูกช่องทาง

4. Promotion : การส่งเสริมการตลาด

การหาวิธีสื่อสารไปยังผู้บริโภค (หรือ End User ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราจริง ๆ) ในปัจจุบันมีได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นช่องทางแบบดั้งเดิม (Traditional) หรือสื่อ Offline เช่น ป้ายบิลบอร์ด, ทีวี, โบรชัวร์, ป้ายตั้งหน้าร้านต่าง ๆ เป็นต้น และแบบ Online เช่น การทำเว็บไซต์, การทำการตลาดตาม Social Media Platform ต่าง ๆ เป็นต้น

สำหรับอีก 3Ps ที่มีเพิ่มเติมมานั้น ได้แก่

5. People : การจัดการคน

เพราะธุรกิจต้องมีคนคอยช่วยจัดการ ฉะนั้น การจัดการคนในองค์กร จึงเป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก การกำหนดตำแหน่งหน้าที่เพื่อการปฏิบัติงานให้สอดคล้องการเนื้องาน จึงเป็นสิ่งสำคัญ และนอกจากนี้ ยังรวมถึงการจัดการคน ในแง่ของฝั่งลูกค้าด้วย

6. Process : กระบวนการ

ในที่นี้คือ การวางแผนกระบวนการทำงานต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการไปได้ด้วยความสะดวก อาทิ

  • Process การซื้อของลูกค้า (หรือที่เรียกว่า Customer’s Journey)
  • Process การทำงานของทีมเซลล์
  • Process การทำ CRM
    เป็นต้น

7. Physical Evidence : สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

หรือก็คือ ประสบการณ์ที่ธุรกิจมอบให้กับกลุ่มเป้าหมาย ถ้าเป็นธุรกิจที่มีหน้าร้าน อาจจะเป็นการที่ตกแต่งร้าน เพื่อให้ลูกค้าได้รับบรรยากาศที่ดี รวมถึงมีพนักงานต้อนรับคอยเสิร์ฟน้ำ ให้บริการอย่างดี แบบนี้ก็เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีได้อย่างหนึ่ง แต่ถ้าหากเป็นออนไลน์ การสร้างประสบการณ์ที่ดีนั้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน เช่น การออแบบหน้าเว็บไซต์ให้สวยงามและใช้งาน, การที่แอดมินตอบแชทไว ใช้คำที่ดี สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า หรือง่าย ๆ ก็คือ ทุกอย่างที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า นั่นเองครับ

เจ้าของแบรนด์อาหารเสริม ต้องดูให้ดี!

เพราะอาหารเสริม เป็นสิ่งที่ผู้คนต้องบริโภคหรือรับประทานเข้าไปในร่างกาย เพราะฉะนั้น ความปลอดภัยของอาหารเสริมที่ผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก!  เจ้าของธุรกิจ จึงต้องเลือกแหล่งผลิตอาหารเสริมให้ดี มีความน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะได้มั่นใจ และไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง

สรุป 

เราขอมาสรุปกันแบบสั้น ๆ อีกที สำหรับ 5 ขั้นตอนการผลิตอาหารเสริมที่เราได้แนะนำกันไปแล้วนั้น ได้แก่ “การเลือกกลุ่มเป้าหมาย > ศึกษาคู่แข่งในตลาด > การออกแบบอาหารเสริม > การสร้างแบรนด์ > วางแผนการตลาด” ถ้าหากท่านผู้อ่านได้อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว แสดงว่า คุณเริ่มจะพอได้ไอเดียในการเริ่มต้นทำแบรนด์อาหารเสริมแล้วใช่ไหมล่ะครับ : )

แต่ถ้าหากยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผลิตอาหารเสริมอยู่ ทาง Cosma Health ของเรา ก็พร้อมยินดีให้คำปรึกษาครับ เพราะเรามีประสบการณ์ในการผลิตอาหารเสริมมาแล้วกว่า 10 ปี ผลิตให้มาแล้วหลากหลายแบรนด์
สอบถามได้เลยที่ LINE : @CosmaHealth

2 thoughts on “5 ขั้นตอนการผลิตอาหารเสริม ให้ประสบความสำเร็จ ไม่ยาก!

  1. Pingback: เริ่มต้นทำผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ ลดน้ำหนักได้ด้วย 5 ทริคจาก Cosma Health

  2. Pingback: สร้างแบรนด์อาหารเสริม ลงทุนเท่าไหร่ให้คุ้ม! ต้องมีงบอะไรบ้าง?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *